


นโยบายด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน
บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจภายใต้หลักธรรมาภิบาล คำนึงถึงการบริหารห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน ให้ความสำคัญกับการให้บริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และตอบโจทย์รูปแบบการใช้ชีวิตของนักท่องเที่ยวยุคใหม่ สนับสนุนความร่วมมือลดความเสี่ยงด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร และส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน
นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม
นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม
บริษัทฯ มุ่งสร้างอาชีพ พัฒนาความรู้ด้านบริการโรงแรม เสริมสร้างจุดหมายปลายทางที่ยั่งยืน (Sustainable Destination) ผ่านการมีส่วนร่วมกับชุมชน การเคารพมรดกทางวัฒนธรรม และการดูแลคุณภาพชีวิตของพนักงาน ควบคู่กับการพัฒนาบุคลากรตามค่านิยมองค์กรอย่างต่อเนื่อง
การดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน
ภาพรวม
บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ให้ความสำคัญกับการเคารพและส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในทุกมิติของการดำเนินธุรกิจ โดยยึดหลักการสิทธิมนุษยชนสากลและแนวปฏิบัติขององค์การสหประชาชาติ (UN Guiding Principles on Business and Human Rights) มาปรับใช้ในกระบวนการดำเนินงาน ครอบคลุมตั้งแต่การดูแลพนักงานอย่างเท่าเทียม ปลอดจากการเลือกปฏิบัติ การส่งเสริมสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัยและเอื้อต่อการเติบโต ไปจนถึงการกำกับดูแลคู่ค้าและพันธมิตรทางธุรกิจให้ปฏิบัติตามมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนอย่างเคร่งครัด เรามุ่งมั่นสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เพื่อส่งเสริมการเติบโตร่วมกันอย่างยั่งยืนตลอดห่วงโซ่คุณค่า
ผลการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน | |
---|---|
ประเด็นความเสี่ยง | แนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันและลดผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน |
สิทธิชุมชนและสิ่งแวดล้อม | |
สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยจากการดำเนินกิจกรรมของบริษัท |
|
สิทธิของผู้รับเหมาและคู่ค้า | |
|
|
สิทธิของพนักงาน | |
|
|
สิทธิของลูกค้า | |
|
|
การบริหารจัดการด้านสิทธิมนุษยชน
บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบโดยคำนึงถึงผลกระทบในทุกด้านที่เกี่ยวข้องต่อชุมชน สังคม และผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มภายในห่วงโซ่ธุรกิจ ร่วมพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ผ่านการจ้างงานและส่งเสริมงานที่ดีในท้องถิ่นและภูมิภาค สนับสนุนสินค้าชุมชน พร้อมกับการขยายธุรกิจไปยังพื้นที่ต่างๆ ยกระดับความสามารถของพนักงานและชุมชน เสริมสร้างทักษะและความรู้เกี่ยวกับงานบริการด้านโรงแรม เสริมสร้างอาชีพให้ชุมชน เพื่อร่วมยกระดับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและสร้างจุดหมายปลายทางที่ยั่งยืน (Sustainable Destination) พร้อมสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชน ให้ความเคารพต่อมรดกทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น รวมไปถึงการดูแลพนักงานให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี และพัฒนาบุคลากรอย่างยั่งยืนตามค่านิยมองค์กร
นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้กำหนดนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน สนับสนุนและเคารพสิทธิมนุษยชนตามแนวทางของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights: UDHR) ข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (United Nations Global Compact: UNGC) หลักการชี้แนะเรื่องสิทธิมนุษยชนสำหรับธุรกิจแห่งสหประชาชาติ (United Nations Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGP) รวมถึงหลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงาน (Declaration on Fundamental Principles and Right at Work) ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (The International Labour Organization: ILO) โดยปรับปรุงนโยบายดังกล่าวในปี 2567 และประกาศนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน ฉบับปรับปรุง ไว้บนเว็บไซต์ของบริษัทฯ
บริษัทมีกระบวนการตรวจสอบและมีการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านทั่วทั้งองค์กร เพื่อทราบถึงประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินธุรกิจของบริษัท และสามารถวางแนวทางป้องกันเพื่อลดความเสี่ยง กำหนดแนวทางเยียวยาหากเกิดการละเมิดขึ้น รวมถึงมีช่องทางร้องเรียนในกรณีที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยมีคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและการพัฒนาอย่างยั่งยืน เป็นผู้รับผิดชอบประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนทั้งกระบวนการ เพื่อให้การดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและลุล่วงตามเป้าหมายที่กำหนด เพื่อให้การดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและลุล่วงตามเป้าหมายที่กำหนด เพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินงานของบริษัทฯ จะไม่ก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า
การตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence: HRDD)
ในปี 2567 บริษัทได้ริเริ่มการดำเนินกระบวนการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence: HRDD) ภายใต้หลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UN guiding Principles on Business and Human Rights: UNGP) เพื่อใช้เป็นแนวปฏิบัติและบริหารจัดการประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งประกอบด้วย 5 ขั้นตอนหลัก ดังนี้
การประเมินความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน
บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ได้ดำเนินการกำหนดตัวชี้วัดประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนภายในองค์กร โดยพิจารณาประเด็นที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมโรงแรมและบริการตามมาตรฐานสากล ทั้งนี้ บริษัทได้กำหนดตัวชี้วัด (Key Performance Indicators - KPIs) เพื่อประเมินและติดตามประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน ดังนี้:
ตัวชี้วัดความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนของ บมจ. ดิ เอราวัณ กรุ๊ป
-
การใช้แรงงานเด็กและแรงงานบังคับ
บริษัทตรวจสอบและป้องกันการใช้แรงงานเด็กและแรงงานบังคับภายในองค์กรและห่วงโซ่อุปทาน
-
สภาพแวดล้อมการทำงานที่ไม่เหมาะสม
มีการประเมินและปรับปรุงสภาพแวดล้อมการทำงานให้ปลอดภัยและเหมาะสมสำหรับพนักงาน
-
ค่าจ้างที่ไม่เป็นธรรม
บริษัทกำหนดนโยบายค่าจ้างที่เป็นธรรมและสอดคล้องกับกฎหมายแรงงาน
-
การเลือกปฏิบัติ
มีการส่งเสริมความเท่าเทียมและป้องกันการเลือกปฏิบัติในทุกรูปแบบ
-
สิทธิในการรวมกลุ่มและเจรจาต่อรอง
บริษัทเคารพสิทธิของพนักงานในการรวมกลุ่มและเจรจาต่อรองตามกฎหมาย
-
การล่วงละเมิดในรูปแบบต่างๆ
มีการดำเนินมาตรการป้องกันและจัดการกับการล่วงละเมิดทุกรูปแบบในสถานที่ทำงาน
นอกจากนี้ บริษัทได้จัดทำ นโยบายสิทธิมนุษยชน เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานและการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งครอบคลุมถึงการระบุความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่ปฏิบัติงานหลัก และการกำหนดแนวทางในการจัดการความเสี่ยงเหล่านั้น
การติดตามและการรายงานผล
คณะทำงานที่เกี่ยวข้องกับด้านสิทธิมนุษยชนจะทำการทบทวนและติดตามการปฏิบัติตามแนวทางและมาตรการการป้องกันและแก้ไขผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อให้มั่นใจว่าแนวทางและมาตรการที่กำหนดไว้ สามารถป้องกันหรือควบคุมประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือควรมีการปรับปรุงแก้ไข พร้อมทั้งรายงานให้กับผู้บริหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับทราบ
การบริหารจัดการข้อร้องเรียนและการเยียวยาผลกระทบ
บริษัทให้ความสำคัญกับกระบวนการในการปกป้องและเยียวยาผู้ที่อาจได้รับผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน จากการดำเนินงาน กรณีการดำเนินงานของบริษัทก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน บริษัทจะดำเนินการสืบสวนข้อเท็จจริง วิเคราะห์หาสาเหตุ ดำเนินการแก้ไข มีมาตรการในการลงโทษ หรือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการกระทำที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนตามความเหมาะสมในแต่ละกรณี โดยบริษัทได้เปิดโอกาสให้ผู้ที่อาจได้รับผลกระทบแจ้งข้อร้องเรียนประเด็นสิทธิมนุษยชน ผ่านช่องทาง “รับเรื่องร้องเรียน” ตามข้อมูลด้านล่างนี้
บริษัทฯ ยึดมั่นในหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีตามข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ ระเบียบข้อบังคับ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ควบคู่ไปกับการส่งเสริมการดำเนินงานอย่างมีจริยธรรมธุรกิจ (Code of Conduct) และต่อต้านการทุจริตทุกรูปแบบทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ เคารพสิทธิมนุษยชน โดยมุ่งมั่นที่จะบริหารจัดการอย่างรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายตลอดห่วงโซ่ธุรกิจ