กลยุทธ์การดำเนินธุรกิจสู่ความยั่งยืน

กลยุทธ์การพัฒนาอย่างยั่งยืน
มุ่งสร้างแนวการใช้ชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สร้างความเข้าใจกับพนักงานด้วยกลยุทธ์ E-P-I-C สร้างเครือข่ายพันธมิตรร่วมกับผู้เชี่ยวชาญภายนอก และผู้มีส่วนได้เสียตลอดห่วงโซ่ธุรกิจ เพื่อสร้างสรรค์สังคมและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน
ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบ และมาตรฐานสากล
เป้าหมายการดำเนินงานตามแนวทาง Sustainable Development Goals (SDGs)

เป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม

เป้าหมายด้านสังคม

เป้าหมายด้านการกำกับดูแลกิจการ

เป้าหมายของบริษัทฯ

  • ลดปริมาณขยะเศษอาหาร
  • ลดปริมาณขยะฝังกลบและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรตามหลัก 3Rs
  • เพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนให้ครอบคลุม
  • โรงแรมทุกแห่งภายใต้การบริหารของบริษัทฯ มุ่งมั่นสนับสนุนการลดการใช้พลังงาน
  • ส่งเสริมเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์ (Net Zero)
  • ส่งเสริมการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน (Water Stewardship)

เป้าหมายของบริษัทฯ

  • เพิ่มทักษะพัฒนาศักยภาพบุคลากร ยกระดับกระบวนการทำงาน
  • ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของพนักงาน ลูกค้า คู่ค้า และชุมชน
  • สนับสนุนให้ความรู้เพื่อสร้างงานสร้างอาชีพแก่ชุมชนท้องถิ่น
  • จำนวนชั่วโมงการฝึกอบรมพนักงานมากกว่า 60 ชั่วโมงต่อปี
  • สถิติการเกิดอุบัติเหตุระหว่างปฏิบัติงานเป็นศูนย์ (Zero Accident)

เป้าหมายของบริษัทฯ

  • สร้างพันธมิตรเพื่อเพิ่มศักยภาพในการตอบสนองการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
  • ส่งเสริมการดำเนินงานที่คำนึงถึงสังคมเศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมของคู่ค้า
  • ประเมินคู่ค้าในประเด็นด้านความยั่งยืน
  • กรณีการฝ่าฝืนจรรยาบรรณและคอร์รัปชันครอบคลุมบริษัทฯ และบริษัทในเครือ เป็นศูนย์

การจัดการผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่คุณค่าทางธุรกิจ

สู่การเติบโตอย่างยั่งยืน: เพื่อให้ธุรกิจสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงในระยะยาว บริษัทฯ ตระหนักถึงความสำคัญของการเข้าใจผลกระทบจากการดำเนินงานทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ ครอบคลุมทั้ง 3 มิติ ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เราจึงดำเนินการทบทวนกระบวนการภายในตลอดห่วงโซ่คุณค่า ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ เพื่อวิเคราะห์ เชื่อมโยง และระบุผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องบริษัทฯ มุ่งสื่อสารและสร้างความเข้าใจร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อรับฟังและตอบสนองต่อความคาดหวังอย่างเหมาะสม โดยมีเป้าหมายในการสร้างคุณค่าร่วมและขับเคลื่อนการเติบโตไปพร้อมกันอย่างยั่งยืน

การวิเคราะห์และดูแลผู้มีส่วนได้เสียในระบบห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ

บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการสร้างคุณค่าร่วมกับกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มอย่างต่อเนื่อง โดยระบุกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียครอบคลุม 7 กลุ่มหลัก ได้แก่ (1) พนักงาน (2) ลูกค้า (3) พันธมิตรธุรกิจ (4) คู่ค้า (5) ผู้ถือหุ้น/เจ้าหนี้ (6) หน่วยงานภาครัฐ (7) ชุมชน

โดยมีการสื่อสารและรับฟังความคิดเห็นผ่านช่องทางต่างๆ และตอบสนองความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย โดยนำข้อมูลจากทุกส่วนปรับเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทำงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ

ตารางการวิเคราะห์และดูแลผู้มีส่วนได้เสียในระบบห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ