กลยุทธ์การดำเนินธุรกิจสู่ความยั่งยืน

เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม
สร้างเครือข่ายคุณค่าร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียเพื่อนำเสนอสิ่งที่ดีกว่าให้กับลูกค้า ยกระดับความสามารถเชิงพลวัตของพนักงานในการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน เพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าทั้งในการก่อสร้างและการดำเนินการ
แนวทางการดำเนินงาน
สร้างสรรค์นวัตกรรม ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มศักยภาพกระบวนการดำเนินงาน พร้อมสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อการเติบโตไปด้วยกัน เพิ่มทักษะพัฒนาศักยภาพบุคลากร ยกระดับกระบวนการทำงาน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของพนักงาน ลูกค้า และชุมชน ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ด้วยการปรับปรุงกระบวนการทำงานรวมถึงใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า

การจัดการผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่คุณค่าทางธุรกิจ

เพื่อให้ธุรกิจดำรงอยู่อย่างยั่งยืน บริษัทฯ ต้องคำนึงถึงผลจากกระบวนการทำงานที่สร้างผลกระทบทั้งเชิงบวกและเชิงลบใน 3 มิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เราจึงศึกษากระบวนการภายในบริษัทฯ ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ เพื่อวิเคราะห์เชื่อมโยง และระบุผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่คุณค่าทางธุรกิจของบริษัทฯ สื่อสารทำความเข้าใจ และตอบสนองความคาดหวัง เพื่อสร้างคุณค่าร่วมแก่ผู้มีส่วนได้เสียและการเติบโตไปด้วยกัน

ห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ

การวิเคราะห์และดูแลผู้มีส่วนได้เสียในระบบห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ

บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการสร้างคุณค่าร่วมกับกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มอย่างต่อเนื่อง โดยระบุกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียครอบคลุม 8 กลุ่มหลัก ได้แก่ (1) พนักงาน (2) ลูกค้า (3) พันธมิตรธุรกิจ (4) คู่ค้า (5) ผู้ถือหุ้น/เจ้าหนี้ (6) หน่วยงานภาครัฐ (7) ชุมชน (8) สิ่งแวดล้อม

โดยมีการสื่อสารและรับฟังความคิดเห็นผ่านช่องทางต่างๆ และตอบสนองความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย โดยนำข้อมูลจากทุกส่วนปรับเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทำงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ