ดิ เอราวัณ ยึดมั่นในความโปร่งใส ปลูกฝังสร้างจิตสำนึกที่ดีควบคู่ไปกับการพัฒนาทักษะความสามารถให้กับบุคลากรเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพที่จะก่อให้เกิดประสิทธิผลในทุกกระบวนการทำงาน เราส่งเสริมพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าและให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมและพัฒนาชุมชนและสังคมโดยรอบธุรกิจบริษัทและสังคมโดยรวม
การบริหารทรัพยากรบุคคล
เป้าหมาย
- การฝึกอบรมพนักงานเฉลี่ย 60 ชั่งโมง/คน/ปี
- อุบัติเหตุเป็นศูนย์ (Zero-accident)
- ข้อพิพาทด้านแรงงานและสิทธิมนุษยชนเป็นศูนย์
โอกาสและความเสี่ยงทางธุรกิจ
โอกาส
ด้วยสาขาของโรงแรมที่กระจายอยู่ทั่วภูมิภาค เพิ่มโอกาสให้บริษัทฯ ได้เปิดรับพนักงานที่มีประสิทธิภาพสูง (Talent) ได้มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ การมีพนักงานที่มีความหลากหลายในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นเพศ เชื้อชาติ ศาสนา อายุ ทัศนคติ ฯลฯ ยังเพิ่มโอกาสในการพัฒนาธุรกิจให้พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในอนาคตอีกด้วย
ความเสี่ยงและความท้าทาย
ธุรกิจโรงแรมเป็นธุรกิจที่มีการเปลี่ยนถ่ายของพนักงาน (Turnover rate) ค่อนข้างสูง และมีลักษณะการดำเนินธุรกิจและความต้องการแรงงานที่ผันแปรไปตามฤดูกาล ดังนั้นจึงมีความต้องการแรงงานในแต่ละช่วงเวลาของปีที่แตกต่างกัน โดยหากบริษัทฯ ไม่มีการดูแลพนักงานที่ดี ไม่มีสวัสดิการที่จูงใจ หรือสามารถพัฒนาศักยภาพพนักงานได้อย่างสมดุล ก็จะกระทบต่อกำลังคนที่จะมาเป็นทรัพยากรในการขับเคลื่อนธุรกิจภาพรวมในอนาคต
ข้อมูลเกี่ยวกับพนักงาน
บริษัทฯ และบริษัทย่อยในประเทศไทย มีจำนวนพนักงาน ณ สิ้นปี 2566 ทั้งหมด 4,043 คน ผลตอบแทนรวม ประกอบด้วย เงินเดือน โบนัส รวม 1,907,434,989 บาท มีพนักงานเข้าร่วมโครงการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 1,711 คน คิดเป็นสัดส่วน 42.32% ต่อพนักงานทั้งหมด
การดูแลพนักงาน
บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการดูแลพนักงานแบบองค์รวมทั้งสุขภาพกายและใจ รวมถึงสนับสนุนให้มีการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อให้พนักงานมีความสุขในการทำงานและมีความเป็นอยู่ที่ดี และอยู่กับองค์กรได้อย่างยาวนานร่วมกัน สร้างผลงานเพื่อขับเคลื่อนคงค์กรไปข้างหน้าและสามารถส่งมอบคุณค่าที่ยั่งยืนให้แก่ผู้มีส่วนได้เสีย รวมทั้งการปฏิบัติต่อพนักงานทุกคนอย่างเท่าเทียมด้วยหลักปฏิบัติสากลด้านสิทธิมนุษยชน
สวัสดิการพนักงาน
บริษัทฯ ได้จัดให้มีสวัสดิการสำหรับพนักงานตามกฎหมายกำหนด และมีสวัสดิการเพิ่มเติมให้กับพนักงาน เช่น ประกันสุขภาพ ประกันอุบัติเหตุ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สวัสดิการกองทุนเงินทดแทน เงินช่วยเหลือ และการจัดกิจกรรมต่างๆ สำหรับพนักงาน
การสรรหาพนักงาน
บริษัทฯ ดำเนินการสรรหาบุคลากรโดยยึดถือการปฎิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชน ในเรื่องของความเสมอภาค ศักดิ์และสิทธิในการได้รับการปฎิบัติต่อมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่แบ่งแยกเชื้อชาติ สีผิว เพศ อายุ ศาสนา และความเชื่อ เปิดโอกาสให้ทุกเชื้อชาติสามารถเข้ามาเป็นพนักงาน โดยคำนึงถึงคุณสมบัติที่เหมาะสมกับตำแหน่งงานเป็นหลักโดยพนักงานใหม่ทุกคนจะได้รับการปฐมนิเทศและโปรแกรมการเรียนรู้งานรวมทั้งการเปิดโอกาสให้ พนักงานภายในสามารถหมุนเวียนงาน โอนย้ายหรือได้รับการเลื่อนตำแหน่ง ตามความเหมาะสม เพื่อพัฒนาทักษะ และเพิ่มโอกาสด้านความก้าวหน้าในอาชีพทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
การส่งเสริมการจ้างงาน | 2564 | 2565 | 2566 | |||
---|---|---|---|---|---|---|
ผู้ชาย | ผู้หญิง | ผู้ชาย | ผู้หญิง | ผู้ชาย | ผู้หญิง | |
การจ้างงานผู้พิการ (คน) |
16 |
5 |
14 |
8 |
15 |
10 |
การรับนักศึกษาฝึกงาน (คน) |
95 |
194 |
138 |
251 |
192 |
521 |
การฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรประจำปี 2566
การขับเคลื่อนค่านิยมหลักและวัฒนธรรมองค์กร
บริษัทฯ สร้างการรับรู้ ความเข้าใจ และเสริมสร้าง DNA ความเป็นหนึ่งเดียวกันของพนักงานผ่านค่านิยมหลัก และวัฒนธรรมองค์กร (EPIC) โดยมีการจัดการสื่อสารเพื่อขับเคลื่อนการแสดงออกเชิงพฤติกรรมผ่านโครงการและกิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น Corporate Townhall, Meet The President, DNA Culture Based Activity และ Employee Engagement Program เป็นต้น
การพัฒนาศักยภาพและทักษะพนักงาน
บริษัทฯ ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพพนักงานอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2566 ได้มีการจัดการเรียนรู้ผ่าน Corporate Learning Center ในรูปแบบ Onsite และ Online ควบคู่กันเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดผ่านการถ่ายทอดความรู้จากวิทยากรทั้งภายในและภายนอก รวมถึงช่องทางการเรียนรู้จากแพลตฟอร์มหรือสถาบันชั้นนำทั้งในไทยและต่างประเทศ ผ่านโปรแกรมการพัฒนาความรู้และทักษะใหม่ในด้านต่างๆ อาทิ
- Corporate Signature Program, Leadership Development Program
- Digital Upskills Program
- English Upskills Program, Individual Development Plan (IDP)
- Mindset & Lifestyles Program
- Online Learning via Cariber Platform
ข้อมูลด้านการฝึกอบรมและพัฒนา | หน่วย | 2565 | 2566 | ||
---|---|---|---|---|---|
ผู้ชาย | ผู้หญิง | ผู้ชาย | ผู้หญิง | ||
หลักสูตรที่มีการจัดอบรม | หลักสูตร | 7,741 | 10,439 | ||
พนักงานที่เข้าร่วมอบรมจำแนกตามเพศ | คน | 1,438 | 1,696 | 1,776 | 2,000 |
ชั่วโมงการอบรมทั้งหมด | ชม./ปี | 101,024 | 264,886 | ||
ชั่วโมงการอบรมเฉลี่ย (เป้าหมาย 60 ชม./คน/ปี) | ชม./คน/ปี | 27 | 70 (เป้าหมาย: 60) | ||
ค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการฝึกอบรมพนักงานเฉลี่ย | บาท/คน/ปี | 1,142 | 363 | ||
ความพึงพอใจของพนักงานที่เข้าร่วมอบรม | % | 95% | 93% | ||
การจัดทำแผนพัฒนารายบุคคล | |||||
สำนักงานใหญ่ | คน | 30 | 77 | 89 | 102 |
โรงแรม | คน | 538 | 536 | 746 | 680 |
การประเมินประสิทธิภาพและการพัฒนาอาชีพ | |||||
พนักงานที่ได้รับการประเมินผลงานและให้ข้อมูลป้อนกลับ | คน | 1,147 | 1,093 | 1,308 | 1,291 |
พนักงานที่ได้รับการเลื่อนตำแหน่ง | คน | 93 | 151 | 112 | 131 |
พนักงานที่ได้รับการหมุนเวียนงานหรือโอนย้าย | คน | 61 | 53 | 29 | 52 |
นโยบายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมของสถานที่ทำงาน
บริษัทฯ มีความมุ่งมั่นในการดูแลเรื่อง สุขภาพ ความปลอดภัย และสภาพแวดล้อมที่ดีในการปฎิบัติงาน และมีการจัดอบรมให้ความรู้สำหรับพนักงาน ในการดูแลตนเองผ่าน Doctor Online และ Meet The Doctor การพบแพทย์เพื่อปรึกษาสุขภาพ โปรแกรมการตรวจสุขภาพประจำปีและฉีดวัคซีนเสริมภูมิคุ้มกันต่างๆ รวมถึงบริการยวดที่ออฟฟิศ Perception Blind Massage อีกทั้งยังคงมาตรการดูแลสุขอนามัยและการทำความสะอาด Daily and Big Cleaning ในสถานที่ทำงานอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงสนับสนุนให้พนักงานเข้าร่วมอบรมและฝึกซ้อมอพยพหนีไฟประจำปี เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมต่อสถานการณ์ฉุกเฉิน เป็นต้น
เป้าหมาย : อุบัติเหตุเป็นศูนย์ (Zero-accident target)
สถิติการเกิดอุบัติเหตุ | หน่วย | 2565 | 2566 | ||
---|---|---|---|---|---|
ผู้ชาย | ผู้หญิง | ผู้ชาย | ผู้หญิง | ||
จำนวนการบาดเจ็บทั่วไป | คน | 45 | 28 | 65 | 48 |
อัตราการบาดเจ็บทั่วไป | 1,000,000 ชม. | 13.08 | 6.34 | 18.44 | 10.21 |
จำนวนวันหยุดงาน | วัน | 251 | 61 | 229 | 53 |
จำนวนการบาดเจ็บรุนแรง (ไม่รวมการเสียชีวิต) | คน | - | - | - | 1 |
อัตราการบาดเจ็บรุนแรง (ไม่รวมการเสียชีวิต) | 1,000,000 ชม. | - | - | - | 0.21 |
จำนวนวันหยุดงานทั้งหมด | วัน | - | - | - | 60 |
อัตราการบาดเจ็บจากการทำงานถึงขั้นหยุดงาน (LTIFR) | 1,000,000 ชม. | 13.08 | 6.34 | 18.44 | 10.43 |
จำนวนการเสียชีวิต | คน | - | - | 1 | - |
อัตราการบาดเจ็บถึงขั้นเสียชีวิต | 1,000,000 ชม. | - | - | 0.28 | - |
ข้อพิพาทแรงงานและสิทธิมนุษยชน
ความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนในองค์กร
บริษัทฯ ได้พิจารณาประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนในองค์กรโดยได้นำประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนในระดับสากลสำหรับธุรกิจโรงแรมและการให้บริการมาพิจารณา อาทิ การใช้แรงงานเด็ก แรงงานบังคับ แรงงานที่ไม่ได้รับการดูแลให้มีสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี ค่าแรงที่ไม่เหมาะสม การเลือกปฏิบัติ การรวมกลุ่มเพื่อเจรจาต่อรอง หรือการถูกคุกคามในรูปแบบต่างๆ เป็นต้น ทั้งนี้ ในปี 2566 บริษัทฯ ไม่มีเรื่องร้องเรียนที่มีนัยสำคัญด้านข้อพิพาทแรงงานหรือสิทธิมนุษยชน
ประเด็นการร้องเรียน (กรณี) | 2562 | 2563 | 2564 | 2565 | 2566 |
---|---|---|---|---|---|
จำนวนข้อพิพาทร้องเรียนของพนักงาน | 0 | 1 | 1 | 0 | 0 |
จำนวนข้อร้องเรียนของพนักงานเกี่ยวกับการปฏิบัติด้านแรงงาน | 1 | 4 | 1 | 0 | 0 |
จำนวนข้อร้องเรียนที่ได้รับการแก้ไขแล้ว | 1 | 4 | 1 | 0 | 0 |
จำนวนข้อร้องเรียนที่อยู่ระหว่างการดำเนินการ | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 |
จำนวนข้อร้องเรียนด้านสิทธิมนุษยชน | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 |
การมีส่วนร่วมพัฒนาชุมชน
บริษัทฯ มีนโยบายและให้ความสำคัญที่จะร่วมพัฒนาชุมชนและสังคมไปพร้อมกับการดำเนินธุรกิจ ภายใต้แนวคิดที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว ด้วยการใช้ทักษะความรู้และความเชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการโรงแรม นำไปพัฒนาและสนับสนุนให้ชุมชนเกิดการเรียนรู้ มีศักยภาพในการพัฒนาตนเอง สร้างงานให้กับแรงงานท้องถิ่นและส่งเสริมการรักษาวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ท้องถิ่น โดยสนับสนุนให้พนักงานอาสาสมัครทำงานในโครงการเพื่อสังคมของบริษัทฯ นอกจากนี้ ยังร่วมมือกับพันธมิตรธุรกิจ ภาคีเครือข่าย หน่วยงานราชการเพื่อร่วมกันทำงานที่จะส่งเสริมความเข้มแข็งให้ชุมชนเพื่อสร้างสังคมแห่งความยั่งยืน
ในปี 2566 บริษัทฯ ได้ต่อยอดโครงการเพื่อชุมชนและสังคม โดยได้ดำเนินการ ดังนี้
โครงการ ฮ็อป อินน์ เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านงานโรงแรม
เป็นโครงการที่บริษัทฯ ได้ดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2565 ให้กับนักศึกษาในระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาเพื่อสนับสนุนการผลิตบุคลากรด้านการโรงแรมที่มีคุณภาพตรงตามความต้องการของตลาดแรงงานในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการส่งเสริมอาชีพให้แก่นักศึกษา
ในปีนี้ บริษัทฯ ได้ทำบันทึกข้อตกลงร่วมกับสถาบันการศึกษาต่างๆ ในพื้นที่ที่มีธุรกิจดำเนินการอยู่รวม 5 สถาบัน ได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคระยอง วิทยาลัยอาชีวศึกษากาญจนบุรี วิทยาลัยพาณิชยการบางนา (ระดับปริญญาตรี) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (พรีเมียมคอร์ส) วิทยาลัยอาชีวศึกษานครปฐม (ระดับปริญญาตรี) เพื่อจัดส่งนักศึกษาเข้าฝึกงานกับทางโรงแรมฮ็อป อินน์ และสามารถเข้าร่วมทำงานกับโรงแรมได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดโดยได้เริ่มโครงการในเดือนมีนาคม มีนักศึกษาจำนวน 25 คนได้เข้าฝึกปฏิบัติงานจริงกับโรงแรม
ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวถือเป็นการสร้างคุณค่าร่วมกัน (Shared value) ที่เกิดขึ้นเนื่องจากสามารถ พัฒนาศักยภาพและสร้างงานให้กับแรงงานท้องถิ่น ในขณะเดียวกันบริษัทฯ ยังมีบุคลากรที่ตรงตามความต้องการในการดำเนินงานเพื่อความต่อเนื่องทางธุรกิจอีกด้วย
ประโยชน์ต่อบริษัทฯ
- ลดความเสี่ยงในการขาดแคลนแรงงานที่มีประสิทธิภาพในอนาคต
- ทำให้แบรนด์ ฮ็อป อินน์ เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น
ประโยชน์ต่อชุมชน
- นักศึกษาจบใหม่ได้รับประสบการณ์จริงในการทำงานด้านการโรงแรม เสริมทักษะการให้บริการจริงควบคู่ไปกับความรู้ที่ได้รับในห้องเรียน
โครงการพัฒนาเรือนสปาชุมชนบ้านแหลม - Happy Home Happy Stay พักสบายกาย เที่ยวสบายใจ
โครงการพัฒนาเรือนสปาชุมชนบ้านแหลม เป็นโครงการพัฒนาชุมชนที่ต่อยอดมาจากความริเริ่มของดิ เอราวัณ กรุ๊ป “Happy Home Happy Stay พักสบายกาย เที่ยวสบายใจ” ที่ได้ดำเนินมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2561 เพื่อยกระดับยกระดับโฮมสเตย์ท้องถิ่นให้มีมาตรฐาน และได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยที่ผ่านมามีโฮมสเตย์ชุมชนจำนวน 27 แห่งทั่วประเทศเข้าร่วมในโครงการดังกล่าว
ในปี 2566 ดิ เอราวัณ กรุ๊ป ได้คัดเลือกชุมชนบ้านแหลมโฮมสเตย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นชุมชนนำร่องแห่งแรกของโครงการดังกล่าว ด้วยชุมชนบ้านแหลมเป็นชุมชนที่เข้มแข็งและพร้อมเรียนรู้ และมีทรัพยากรชุมชนและแหล่งท่องเที่ยวที่เหมาะสมแก่การต่อยอดอาชีพเพื่อสร้างชุมชนยั่งยืน ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้เข้าไปพัฒนาปรับปรุงเรือนอเนกประสงค์ให้เป็นเรือนสปาชุมชน เพื่อให้บริการสปาโคลน อันเป็นการต่อยอดการให้บริการจากผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีชื่อเสียงของชุมชนบ้านแหลม
ประโยชน์ต่อบริษัทฯ
- ได้ใช้ศักยภาพและทรัพยากรที่มีในการออกแบบและพัฒนาเรือนสปา ให้มีความน่าสนใจและกลมกลืนกับวัฒนธรรมชุมชน
- ได้มีส่วนร่วมกับคู่ค้าในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชุมชน
- เปิดโอกาสให้พนักงานได้มีส่วนร่วมกับชุมชน พัฒนาความรู้ของตนเองให้เหมาะสมกับการให้บริการในสถานการณ์ที่หลากหลาย และมีจิตอาสาเพื่อส่วนรวม
- ทำให้ ดิ เอราวัณ กรุ๊ป เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น
ประโยชน์ต่อชุมชน
- พัฒนาและต่อยอดการให้บริการในแหล่งท่องเที่ยวชุมชนให้รองรับกับความต้องการของนักท่องเที่ยวได้มากยิ่งขึ้น
- สร้างอาชีพและรายได้ให้แก่ชุมชนโดยในไตรมาสแรกของปี 2567 (ภายหลังเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ) ชุมชนบ้านแหลม ได้มีโอกาสต้อนรับนักท่องเที่ยวหลากหลายกลุ่ม ตั้งแต่กลุ่มเล็กไปจนถึงกลุ่มใหญ่ (มากกว่า 100 คน/ครั้ง)
บริษัทฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะสามารถต่อยอดการสร้างอาชีพอย่างยั่งยืนให้แก่ชุมชน ควบคู่ไปกับการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Wellness Tourism) และการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Sustainable Tourism) โดยใช้เป็นสถานที่ให้บริการแก่นักท่องเที่ยวหรือประชาชนทั่วไปที่สนใจบริการสปาโคลน ประกอบกับองค์ความรู้ที่ชุมชนได้รับ ผ่านการฝึกอบรมฝึกอบรมที่บริษัทได้จัดขึ้น ดังนี้
ครั้งที่ 1: การอบรมเชิงปฏิบัติการ | ครั้งที่ 2: การบริการสปาโคลนสาธิตและพิธีเปิดเรือนสปาโคลน | |
---|---|---|
หัวข้อ | “การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพกับการยกระดับสปาชุมชน”
|
การบริการสปาโคลนสาธิต (Mud Spa Trial) หรือ “Test Trip” และพิธีเปิดเรือนสปาโคลน
จัดขึ้นเพื่อให้ผู้บริหาร ดิ เอราวัณ กรุ๊ป ได้ทดสอบการให้บริการสปาโดยชุมชนบ้านแหลม เพื่อประเมินความพร้อมในการให้บริการ ก่อนเปิดให้บริการจริงแก่นักเที่ยวในลำดับถัดไป ถือเป็นการส่งมอบเรือนสปาโคลนและเปิดทดลองให้บริการ (Soft Opening) ในโอกาสดังกล่าว โดยมีหน่วยงานในพื้นที่ที่สำคัญเข้าร่วมเป็นเกียรติภายในงาน |
วันที่ | 19-20 กันยายน 2566 | 22-23 พฤศจิกายน 2566 |
ผู้เข้าร่วมอบรม | กลุ่มสตรีแม่บ้านชุมชนบ้านแหลมและหมู่บ้านใกล้เคียง 50 คน |
|
ผู้ให้การอบรม | วิทยากรจาก
|
- |
หน่วยงานที่เข้าร่วมกิจกรรม |
|
|
ผลลัพธ์ที่ได้ | สตรีแม่บ้านชุมชนบ้านแหลมได้ทบทวนความรู้พื้นฐานด้านการนวดแผนไทย ได้เรียนรู้เทคนิคการนวดใหม่ๆ รวมทั้งขั้นตอนการให้บริการลูกค้าเพื่อสร้างความประทับใจ | สตรีแม่บ้านชุมชนบ้านแหลมได้ฝึกปฏิบัติการให้บริการสปาเสมือนจริง แก่ผู้บริหาร ดิ เอราวัณ กรุ๊ป และแขกผู้มีเกียรติในงาน ทั้งนี้ กลุ่มสตรีฯ ได้รับคำแนะนำที่ดีจากผู้รับบริการ เพื่อพัฒนาอาชีพต่อไป |
โครงการเที่ยวบ้านฉัน
เป็นกิจกรรมประกวดวาดภาพของเยาวชนระดับประถมศึกษาโดยร่วมกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในพื้นที่ที่มีโรงแรม ฮ็อป อินน์ ตั้งอยู่ เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวชุมชนผ่านผลงานภาพวาดของเยาวชน เป็นการส่งเสริมจินตนาการ สร้างความภาคภูมิใจและรักท้องถิ่นให้กับเยาวชน โดยมีโรงเรียนเข้าร่วมกิจกรรม 47 โรงเรียน รวม 156 ภาพจาก 4 พื้นที่ คือ จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดน่าน จังหวัดนครราชสีมา และกรุงเทพฯ ทำการคัดเลือกภาพด้วยการโหวตจากลูกค้าที่เข้าพักโรงแรม ฮ็อป อินน์ และประชาชนบุคคลทั่วไป
บริษัทฯ และโรงแรมในเครือจัดกิจกรรมพนักงานอาสาโดยมีเจตนารมณ์ที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของสังคมจากการแพร่ระบาดของ โควิด- 19 ตามความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่โดย
- โรงแรมในเครือมอบอาหาร เจลแอลกอฮอล์ เครื่องอุปโภค บริโภค มอบให้ชุมชนใกล้เคียงและบุคคลทั่วไป
- บริษัทฯ มอบหน้ากาก N95 และกล้วยตากผลิตภัณฑ์จากชุมชนผาปัง จังหวัดลำปาง แก่โรงพยาบาลมหาราช จังหวัดนครราชสีมา, โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต, โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ จังหวัดสงขลา, โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กรุงเทพมหานครฯ
- บริษัทฯ มอบ Thank You Bag ให้กับพนักงานทำความสะอาดเก็บขยะกวาดถนนในเขตพื้นที่โดยรอบธุรกิจของบริษัทฯ ได้แก่ เขตคลองเตย เขตปทุมวัน เขตสาทร เขตคลองสาน เขตแจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร และเทศบาลปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี เพื่อขอบคุณและเป็นกำลังใจแก่บุคลากรที่ทำงานอย่างหนักในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งภายในถุงบรรจุด้วยกาแฟจากชุมชนดอยผาหมี จังหวัดเชียงราย ข้าวหอมมะลิภูเขาไฟ จากชุมชนบ้านโคกเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ และภาชนะกะลาแปรรูป จากชุมชนบ้านแหลม จังหวัดนครศรีธรรมราช ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์ที่บริษัทฯ นำมามอบให้แก่หน่วยงานต่างๆ ล้วนมาจากชุมชนในโครงการ “พักสบายกาย เที่ยวสบายใจ Happy Home Happy Stay” ซึ่งเป็นโครงการเพื่อพัฒนายกระดับการให้บริการและการบริหารจัดการโฮมสเตย์ในชุมชนของบริษัทฯ อันเป็นการช่วยเหลือและกระจายรายได้สู่ท้องถิ่นเนื่องจากชุมชนท่องเที่ยวเหล่านี้ล้วนได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ โควิด- 19
- บริษัทฯ มอบรายได้จากการเข้าพักโรงแรมฮ็อปอินน์ทั่วประเทศทุกสาขาในวันที่ 5 มิถุนายน 2563 โดยไม่หักค่าใช้จ่ายสมทบกับเงินร่วมบริจาคของพนักงานรวมเป็นเงินจำนวน 1 ล้านบาทมอบให้ “โครงการ 63 บาทสู้โควิด-19 พลังน้ำใจ 63 บาทแปรเปลี่ยนความทุกข์ยากปี 2563” ซึ่งดำเนินการโดยสภากาชาดไทย
โครงการตู้เปิดจินตนาการ มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการศึกษาแก่เยาวชนในระดับประถมศึกษาด้วยการมอบตู้เปิดจินตนาการซึ่งเป็นตู้ที่มีทั้งหนังสือและของเล่นเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้พัฒนาทักษะด้านต่างๆ มีคู่มือการเรียนการสอนเพื่อผลิตสื่อการเรียนรู้ บริษัทฯ จะมอบตู้เปิดจินตนาการให้กับโรงเรียนในจังหวัดที่มีโรงแรม ฮ็อบ อินน์ ประเทศไทย ตั้งอยู่ ซึ่งจะมอบให้ในวันเปิดให้บริการโรงแรมเป็นวันแรกพื้นที่ละ 5 แห่ง โดยเริ่มโครงการนี้มาตั้งแต่ปี พ.ศ 2557 จนถึงปัจจุบันมีโรงเรียนที่ได้รับตู้เปิดจินตนาการไปแล้วรวม 220 แห่ง และในปี 2563 บริษัทฯ ได้มอบตู้เปิดจินตนาการให้แก่โรงเรียน 5 แห่งในจังหวัดภูเก็ต เนื่องจากบริษัทฯ ได้เปิดให้บริการโรงแรม ฮ็อป อินน์ ภูเก็ต สาขาที่ 2
โครงการพักสบายกาย เที่ยวสบายใจ Happy Home Happy Stay การท่องเที่ยวชุมชนมีบทบาทและมีความสำคัญเพิ่มขึ้นเนื่องจากนักท่องเที่ยวต้องการสัมผัสวิถีชีวิตท้องถิ่นทั้งผู้คน สังคม วัฒนธรรม ประเพณี และสิ่งแวดล้อม เช่น การปรุงและการรับประทานอาหารท้องถิ่น การทำหัตถกรรมพื้นบ้านรวมถึงการอยู่พักอาศัยแบบบวิถีชีวิตท้องถิ่นกับเจ้าของบ้าน ด้วยเหตุนี้บริษัทฯ ในฐานะผู้ประกอบการโรงแรมจึงต้องการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่สอดคล้องโดยตรงกับบริษัทฯ
ด้วยการยกระดับการบริหารจัดการโฮมสเตย์ในชุมชนผ่านการแบ่งปันความรู้ความเชี่ยวชาญของบริษัทฯ ให้กับชุมชน ส่งเสริมให้ชุมชนเกิดการเรียนรู้ ได้เห็นมุมมองใหม่เห็นโอกาสทางเศรษฐกิจเป็นการเพิ่มศักยภาพในการต่อยอดปรับปรุงเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนจากภายในชุมชนเอง บริษัทฯ ริเริ่มโครงการนี้ในปี พ.ศ2561 ที่ชุมชนบ้านแหลม อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช และต่อมาในปี 2562 ได้ร่วมกับแอร์เอเซีย จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการบริการและการบริหารจัดการโฮมสเตย์ให้กับชุมชนในโครงการ Journey D โดยในปี 2563 บริษัทฯ ได้ขยายความร่วมมือกับธนาคารออมสินในโครงการ GSB Smart Homestay โฮมสเตย์มีสไตล์ โดยได้เข้าร่วมพิจารณาตัดสินรางวัล และให้ความรู้แก่ชุมชนในโครงการ ได้แก่ ชุมชนบ้านหนองขาว อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี และชุมชนบ้านมุงเหนือ อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก และได้สนับสนุนมอบผ้าปูที่นอนสภาพดีที่คัดเลือกจากโรงแรมในเครือให้แก่ 6 ชุมชนที่เข้าร่วมโครงการได้ใช้ประโยชน์
ในปี 2566 ดิ เอราวัณ กรุ๊ป ได้ปรับรูปแบบโครงการอีกครั้ง ด้วยการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อยกระดับการให้บริการการท่องเที่ยวชุมชน โดยได้เข้าไปพัฒนาปรับปรุงเรือนอเนกประสงค์ของชุมชนบ้านแหลม จังหวัดนครศรีธรรมราช ให้เป็นเรือนสปาชุมชน เพื่อให้บริการสปาโคลน อันเป็นการต่อยอดการให้บริการจากผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีชื่อเสียงของชุมชนบ้านแหลมและต่อยอดอาชีพเพื่อสร้างชุมชนยั่งยืนต่อไป